บริการงานเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ โทรศัพท์

บริการงานเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ โทรศัพท์

ไฟเบอร์ไทย บริการงานเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ โทรศัพท์

  • รับเพิ่มจุด และ แก้ไขปลั๊กไฟ ปลั๊กแลน ปลั๊กโทรศัพท์
  • รับเดินสายไฟ สายแลน สายโทรศัพท์ใหม่
  • แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสายไฟ เต้าเสียบใหม่ สวิซไฟ
  • รับเดินรางสายไฟไปตามโต๊ะทำงาน

** บริการเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ, โทรศัพท์ 10 จุดขึ้นไป **


การติดตั้งเต้ารับความหมายและหน้าที่ของเต้ารับ

เต้ารับ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ต่อกระแสไฟฟ้าชั่วคราวไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า มีลักษณะ ต่าง ๆ กัน แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ชนิดเต้าเสียบ หรือปลั๊ก (Plug) และ เต้ารับ (Socket –outlet) อุปกรณ์ ทั้งสองจะใช้ร่วมกัน เพื่อเป็นจุดรับไฟเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นโทรทัศน์ เตารีด พัดลม ฯลฯ

มาตรฐานการติดตั้งเต้ารับ

  • เต้ารับที่ใช้งานต้องมีพิกัดกระแส แรงดัน และประเภทการใช้งานที่เหมาะสม
  • เต้ารับที่ใช้งานกลางแจ้ง หรือสถานที่เปียกชื้น ต้องเป็นชนิดที่ระบุ IP ให้ เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน กรณีป้องกัน น้ำสาดให้ใช้ไม่ต่ำกว่า I P X 4 งานป้องกันน้ าฉีดให้ใช้ ไม่ต่ากว่า I P X 5
  • เต้ารับแบบติดพื้นหรือฝังพื้น การติดตั้งต้องป้องกันหรือหลีกเลี่ยงจากความ เสียหายทางกายภาพเนื่องจากการท าความสะอาดพื้นและการใช้งาน
  • เต้ารับต้องติดตั้งอยู่เหนือระดับน้ าที่อาจจะท่วมหรือขังได้3.5 ขนาดของสายไฟฟ้าที่เต้ารับต้องไม่เล็กกว่า 1.5 ตร.มม
  • เต้ารับที่อยู่ในวงจรย่อยต้องเป็นแบบมีขั้วสายดิน และ ต้องต่อลงดิน
  • เต้ารับในสถานที่เดียวกันแต่ใช้แรงดันต่างกัน หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ งานต่างกัน ต้องจดท าให้เต้าเสียบนั้นไม่สามารถสลับกันได้

ข้อควรระวังเกี่ยวกับเต้ารับ

  • เวลาต่อสายในปลั๊ก ต้องตรวจสอบให้ดีอย่าให้สายไฟสัมผัสกันเป็นอันขาด
  • อย่าใช้การดึงสายไฟที่ปลั๊กตัวผู้ เมื่อต้องการถอดปลั๊ก
  • ขันสกรูให้ตะปูควงให้แน่น ป้องกันสายหลุด
  • ไม่ควรใช้งานมากเกินไปเนื่องจากจะมีความร้อนอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • ตำแหน่งที่ติดตั้งเต้ารับจะต้องห่างจากน้ำ และ เด็กเล็กไม่สามารถหยิบจับได้

การเดินสายไฟแบบฝังผนัง

เป็นการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ที่ฝังไว้ในผนัง ซึ่งทำให้ผนังบ้านดูเรียบร้อย ไม่มีสายไฟให้เห็น แต่ก็มีขั้นตอนในการก่อสร้างที่ยุ่งยาก เพราะต้องมีการวางแผนการก่อสร้างเป็นอย่างดี การซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น และใช้งบประมาณมากพอสมควร ส่วนการเดินสายไฟแบบลอย สามารถทำได้ทั้งแบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ ซึ่งจะเห็นสายไฟเป็นเส้นๆ แนบไปกับผนัง การเดินสายไฟแบบลอยจะใช้งบประมาณที่น้อยกว่า และการซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องคำนึงถึงการเดินสายไฟให้เป็นระเบียบสวยงาม

การเดินสายไฟแบบฝังผนัง

สามารถฝังได้ทั้งในผนังเบา และผนังก่ออิฐ สำหรับผนังเบาเป็นผนังที่ประกอบไปด้วยโครงคร่าว ที่มีช่องว่างภายใน สามารถเดินท่อร้อยสายไฟระหว่างโครงคร่าวได้ง่าย แต่จะต้องเดินท่อร้อยสายไฟให้เสร็จก่อนที่จะปิดแผ่นผนัง ในส่วนของผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นอิฐมอญ อิฐบล็อก หรืออิฐมวลเบา หากต้องการฝังท่อไว้ในผนัง จะมีความยุ่งยากมากกว่า เนื่องจากต้องทำการกรีดผนังเพื่อเดินท่อร้อยสายไฟ แล้วฉาบปิดร่องด้วยปูนฉาบ (ปูนทราย)  จากนั้นติดลวดกรงไก่ บริเวณที่กรีดผนัง ก่อนทำการฉาบเพื่อป้องกันการแตกร้าวที่ผิวปูนฉาบในภายหลัง ข้อควรระวังคือ ไม่ควรฉาบผนังจนเรียบร้อยแล้วค่อยกรีดผนังเพื่อเดินท่อสายไฟ เพราะการฉาบทับเฉพาะผนังส่วนที่โดนกรีดมักจะทำได้ไม่เนียน และเห็นเป็นรอยปูนฉาบยาวๆ ดูไม่สวยงาม ซึ่งอาจทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในฉาบเก็บความเรียบร้อยของผนังทั้งผืนด้วยปูนฉาบบาง (สกิมโค้ท) หรือปิดทับด้วยวอลล์เปเปอร์

การเดินสายไฟแบบฝังผนัง มักจะใช้สายไฟประเภท THW มีลักษณะเป็นสายกลม

มีสีต่างๆ ภายในมีลวดทองแดงแกนเดียว ร้อยในท่อร้อยสายไฟ โดยท่อ 1 เส้นสามารถมีสายไฟได้หลายเส้นที่เป็นวงจรเดียวกัน ไม่ควรร้อยสายไฟหลายเส้นต่างวงจรกันในท่อเดียว เพื่อป้องกันความสับสนเมื่อซ่อมบำรุง

ท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit)

เป็นสิ่งที่จะช่วยปกป้องสายไฟ และรวบรวมสายไฟหลายๆ เส้นไว้ด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ท่อโลหะ และท่อพลาสติก การเดินสายไฟแบบฝังผนังสามารถเลือกได้ทั้งท่อโลหะ และท่อพลาสติก ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ซึ่งท่อโลหะจะแพงกว่า แต่ก็ทนทานกว่าเช่นกัน

ท่อโลหะ เป็นท่อที่ทำจากเหล็ก ชุบสังกะสี แบ่งออกเป็น 5 ชนิด มีการใช้งานที่ต่างกันดังนี้

  • 1. ท่อโลหะขนาดบาง (EMT, Electrical Metallic Tubing) มีขนาด 1/2 - 2 นิ้ว ใช้เดินลอยภายในอาคาร หรือฝังในผนังได้ แต่ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต
  • 2. ท่อโลหะขนาดกลาง (IMC, Intermediate Conduit) มีขนาด 1/2 – 4 นิ้ว ใช้เดินลอยภายนอกอาคาร หรือฝังในผนัง และพื้นคอนกรีตได้
  • 3. ท่อหนาพิเศษ (RSC, Rigid Steel Conduit) มีขนาด 1/2 – 6 นิ้ว ใช้เดินลอยภายนอกอาคาร หรือฝังในผนัง และพื้นคอนกรีตได้ เช่นเดียวกับท่อ IMC แต่จะแข็งแรงมากกว่า
  • 4. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอได้ เหมาะสำหรับต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ดวงโคม เป็นต้น
  • 5. ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ (Raintight Flexible Metal Conduit) เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ใช้สำหรับต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าในที่ที่มีความชื้น เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ เป็นต้น

ท่อพลาสติก มีราคาถูกกว่าท่อโลหะ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

  • 1. ท่อพีวีซี (PVC, Polyvinyl Chloride) เป็นท่อผลิตจากวัสดุ PVC มีคุณสมบัติทนความชื้น ไม่ขึ้นสนิม ทนความร้อนได้ 60 องศา มีสองสีคือ สีเหลือง เหมาะกับการเดินท่อฝังในผนัง และสีขาว เหมาะกับการเดินท่อลอยเนื่องจากทาสีทับได้ง่าย
  • 2. ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) เป็นท่อที่มีความอ่อนตัวพอสมควร และมีความแข็งแรงสูง ใช้เดินสายภายนอกอาคาร และสายใต้ดิน
  • 3. ท่อ EFLEX เป็นท่อที่มีลักษณะเป็นปล้องๆ มีความอ่อนตัว โค้งงอได้ คล้ายท่อโลหะอ่อน

ท่อร้อยสายไฟ

จะเชื่อมต่อระหว่างตู้ไฟ กล่องพัก/แยกสายไฟฟ้าที่อยู่บนเพดาน และกล่องปลั๊กไฟหรือกล่องสวิตช์ไฟ (Handy Box) โดยจะมีหัวต่อท่อสำหรับยึดท่อให้อยู่กับกล่องต่อสายไฟฟ้าในแต่ละจุด สามารถดัดโค้งไปตามจุดต่างๆ ได้ แต่หากดัดโค้ง 90 องศา ไม่ควรดัดเกิน 4 โค้งต่อท่อ 1 เส้น เนื่องจากจะร้อยสายไฟเข้าไปในท่อลำบาก

การเดินสายไฟแบบลอย

สามารถทำได้ทั้งแบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ โดยการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟแบบลอย สามารถเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟได้ทั้งแบบโลหะ และแบบพลาสติก PVC โดยท่อโลหะจะมีความแข็งแรงทนทาน สามารถโชว์ความสวยงามของท่อได้ ส่วนท่อพลาสติกซึ่งมีราคาประหยัดกว่า แต่ควรทาสีทับท่อเพื่อความสวยงามและกลมกลืนไปกับผนัง ทั้งนี้ การเชื่อมท่อแบบเดินลอยเข้ากับกล่องปลั๊กไฟหรือกล่องสวิตช์ไฟ ต้องคำนึงถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ดี เนื่องจากกล่องปลั๊กไฟและกล่องสวิตช์ไฟจะอยู่บนผนังลอยออกมาเช่นกัน

การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การเดินสายไฟแบบเปิด คือการเดินสายไฟโดยมีเข็มขัดรัดยึดสายไฟเข้ากับผนัง หรือเพดานของอาคาร ทุกระยะประมาณ 10 ซม. ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เต้ารับ สวิตช์ ตู้ไฟหรือแผงวงจร รวมถึงดวงโคมไฟฟ้าในจุดต่างๆ สายไฟที่ใช้จะเป็นสายที่หุ้มฉนวนยาง หรือ PVC  โดยทั่วไปที่ใช้ตามบ้านมักจะเป็นสาย VAF มีลักษณะเป็นสายแบนๆ สีขาว ภายในสายจะมีลวดทองแดง 2 แกนหรือ 3 แกน หุ้มด้วยฉนวน 2 ชั้น

การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บนี้มีราคาถูกที่สุดในการเดินสายไฟทุกวิธี เนื่องจากไม่ต้องใช้ท่อร้อยสายไฟ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันช่างที่มีฝีมือในการเดินสายแบบตีกิ๊บก็หายากมากขึ้น เนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ความประณีตในการเรียงสายไฟ รีดสายไฟให้เรียบไปกับผนัง และติดตั้งระยะกิ๊บให้เป็นระเบียบ รวมถึงสายไฟก็มีโอกาสเสียหายได้มากกว่าเนื่องจากไม่มีท่อร้อยสายไฟคอยปกป้องโดยสรุปแล้วการเดินสายไฟแบบฝังผนังทำให้บ้านดูเรียบร้อยมากกว่า แต่ก็ต้องใช้งบประมาณที่มากกว่าเช่นกัน และยังต้องมีการออกแบบและการวางแผนการก่อสร้างที่ดี จึงจะได้งานที่สมบูรณ์และไม่ต้องแก้ไขในภายหลัง อย่างไรก็ตามการเดินสายไฟแบบเดินลอย หากเดินสายไฟหรือท่อร้อยสายไฟอย่างเป็นระเบียบ บ้านก็สามารถมีความสวยงามได้เช่นกัน โดยเฉพาะการตกแต่งบ้านสไตล์ลอฟต์ ซึ่งการซ่อมบำรุง และติดตั้งสายไฟเพิ่มเติมทำได้ง่ายกว่า

สายไฟในปัจจุบันมีแบบไหนบ้าง ?

สายแรงต่ำ

  1.  สายไฟฟ้าอลูมิเนียม หุ้มฉนวนด้วย PVC มีตัวนำเป็น อลูมิเนียม หุ้มฉนวนด้วย PVC ใช้กับงานแรงดันไม่เกิน 750 โวลต์ สามารถใช้
    งานเป็นสายประธาน หรือ สายป้อน ใช้เดินในอากาศเหนือพื้นดิน การไฟฟ้าใช้สายนี้เดินไฟฟ้าแรงดันต่ำจากหม้อแปลงเพื่อจ่ายให้แก่ผู้ใช้ทั่ว ไปตามบ้าน
  2. สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC เนื่องจากทองแดงมีคุณสมบัติข้อดีมากกว่าอลูมิเนียม เช่น มีความนำไฟฟ้าสูงกว่า การตัดต่อตัวนำสามารถทำได้ง่ายกว่า จึงนิยมใช้สายไฟฟ้าที่ทำจากวัสดุนี้มาก สายไฟฟ้าที่ทำจากตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC แต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไป
  3. สายไฟฟ้าตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนด้วย XLPE เป็นสายที่มีฉนวนเป็น XLPE ทนความร้อนได้สูงกว่า PVC แข็งแรง สามารถทนแรงดึงสูง และ การกัดกร่อนทางเคมีได้ดี โดยทั่วไปสายชนิดเรียกว่า CV หรือ CCV

สายไฟที่นิยมใช้ในบ้านเรา ตามมาตรฐาน มอก. 11-2531

  1. สาย IV หรือสาย HIV เป็นสายแกนเดียว มีฉนวนชั้นเดียวสามารถทนแรงดันได้สูงสุด 300 โวลต์ เหมาะกับการใช้งานเป็นสายประธานเดินเข้าอาคารบ้านพักอาศัย และ เดินสายไฟภายในอาคาร โดยเดินลอย หรือเดินในรางเดินสายซึ่งเป็นที่แห้ง ใช้สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์ ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรง

     

  2. สาย VAF เป็นสายทนแรงดันได้สูงสุด 300 โวลต์ มีทั้งชนิดสายกลมเดี่ยวหุ้มฉนวนและมีเปลือกนอก และชนิดสายแบน 2 แกนหรือ 3 แกน หุ้มฉนวนชั้นในด้วย PVC สีดำ และ สีเทาอย่างละแกน แล้วหุ้มเปลือกนอกด้วย PVC สีขาว สายนี้เหมาะกับการใช้เดินสายสำหรับไฟ 1 เฟส 2 สาย ในอาคารทั่วไป โดยการเดินลอยเกาะผนัง ห้ามใช้สายนี้กับระบบไฟ 3 เฟส 380โวลต์ ห้ามร้อยท่อฝังดิน ห้ามแช่น้ำ หรือ ฝังดินโดยตรง เดินในรางเดินสายได้แต่ห้ามเดินในช่องเดินสาย

     

  3. สาย VAF-GRD เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 300 โวลต์ มีคุณสมบัติเหมือนสาย VAF เพียงเพิ่มสายดินเข้ามาอีก 1 แกน มีทั้งเป็นแบบสาย 2 แกน และ 3 แกน ใช้งานในการเดินสายไฟฟ้าภายในบริเวณบ้านทั่วไป ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือห้ามใช้เดินฝังดินโดยตรง

     

  4. สาย THW ทนแรงดันสูงสุด 750 โวลต์ ลักษณะเป็นสายแกนเดียว หุ้มฉนวนด้วย PVC ชั้นเดียว เหมาะกับการใช้งานเป็นสายประธาน เดินไฟ 1 เฟส 2 สายเข้าสู่บ้านพักอาศัย และ ยังนิยมใช้เป็นสายวงจรย่อย สำหรับเดินไฟในท่อฝังผนัง หรือ เดินไฟฟ้าเข้าเครื่องจักรในระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 380 โวลต์ การใช้งานสามารถเดินลอยในอากาศ รางเดินสาย หรือร้อยท่อฝังดินที่ไม่ให้น้ำเข้า แต่ห้ามฝั่งดินโดยตรง

     

  5. สาย NYY แกนเดียว และ สาย NYY ขนาด 2 ถึง 4 แกน ทนแรงดันสูงสุดที่ 750 โวลต์ เป็นสายกลม หุ้มฉนวนด้วย PVC และ หุ้มเปลือกชั้นใน และ ชั้นนอกด้วย PVC ใช้งานในการเดินสายทั่วไป นิยมใช้เป็นสายป้อน หรือ สายประธาน สามารถร้อยท่อฝังดิน หรือ ฝังดินได้โดยตรง

     

  6. สาย NYY-N เป็นสาย 4 แกน มีสายไฟ 3 แกน และ สายนิวทรัล 1 แกน ตัวนำหุ้มฉนวนด้วย PVC ตีเกลียวรวมศูนย์แล้วหุ้มเปลือกชั้นใน และเปลือกชั้นนอกด้วย PVC ใช้งานในการเดินสายเมนเข้าอาคารสำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย สามารถใช้งานโดยร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรง

     

  7. สาย NYY-GRD เป็นสายทนแรงดัน 750 โวลต์ ชนิดเดียวกับสาย NYY มีสายดินเพิ่มเข้ามาอีก 1 แกน ใช้งานเดินเป็นสายประธาน หรือ เดินสายเข้าเครื่องจักร สามารถเดินในท่อฝังดิน หรือ ฝังดินได้โดยตรง

     

  8. สาย VCT เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 750 โวลต์ มีทั้งสายแกนเดียว ถึง 4 แกน ตัวนำเป็นทองแดงสายฝอย หุ้มฉนวนด้วย PVC นำมาตีเกลียวรวมศูนย์และ หุ้มเปลือกนอกด้วย PVC อีกชั้นหนึ่ง มีลักษณะอ่อนตัว ทนต่อสภาพการสั่นสะเทือน เหมาะที่จะใช้งานเป็นสายเดินเข้าเครื่องจักร ใช้ในการเดินสายทั่วไป สามารถร้อยท่อฝังดิน หรือ เดินสายฝังดินโดยตรง

     

  9. สาย VCT-GRD เป็นสายทนแรงดัน 750 โวลต์ชนิดเดียวกับสาย VCT โดยมีสายดินเพิ่มเข้ามา 1 แกน ใช้งานในการเดินสายไฟเข้าเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่

     

  10. สาย VVR เป็นสายทนแรงดันได้สูงสุด 300 โวลต์ มีทั้งชนิดแกนเดียว และหลายแกน ลักษณะสายเป็นทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC และ หุ้มเปลือกนอกด้วย PVC ถ้าเป็นสายหลายแกนจะเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC แล้วนำสายแต่ละแกนมาตีเกลียวรวมศูนย์ และหุ้มเปลือกนอกด้วย PVC อีกครั้ง เหมาะสำหรับใช้งานในการเดินสายทั่วไป โดยเดินลอย หรือเดินในรางแห้ง ห้ามฝังดินโดยตรง แต่สามารถร้อยท่อฝังดินได้โดยไม่ให้น้ำเข้าท่อหรือแช่น้ำ

     

  11. สาย VVR-GRD เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 300 โวลต์ ชนิดเดียวกับสาย VVR โดยมีสายดินเพิ่มเข้ามา 1 แกน ใช้ในการเดินสายไฟฟ้าทั่วไป โดยเดินในอากาศ หรือเดินในรางสายไฟ สามารถร้อยท่อฝังดิน แต่ห้ามฝังดินโดยตรง

     

  12. สาย VVF เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 750โวลต์ มีทั้งสายกลมแกนเดียว และสายแบน 2 แกน ลักษณะเป็นตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนชั้นในด้วย PVC สำหรับสายแบน 2 แกนเปลือกในจะมีสีดำและสีเทา และหุ้มเปลือกนอกด้วย PVC อีกชั้น เปลือกนอกมีสีขาว ใช้งานในการเดินสายลอย เดินเกาะผนัง วางในรางเดินสายได้แต่ ห้ามเดินในท่อร้อยสาย ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือ ฝังดินโดยตรง

     

  13. สาย VVF-GRD สามารถทนแรงดันสูงสุด 750 โวลต์ เป็นสายแบน 2 แกน มีสายดินเพิ่มมาอีก 1 แกน มีคุณสมบัติเหมือนกับสาย VVF ใช้ในการเดินสายทั่วไป เดินเกาะผนัง เดินซ่อนในผนัง ห้ามเดินในช่องเดินสาย ยกเว้น รางเดินสาย ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือ ฝังดินโดยตรง

     

  14. สาย VSF, VFF และ VTF เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 300 โวลต์ ตัวนำเป็นทองแดงสายฝอย หุ้มฉนวนชั้นเดียวด้วย PVC สายVSF เป็นสายกลมแกนเดียว สาย VFF เป็นสายกลม 2 แกนติดกัน สาย VTF เป็นสาย กลม 2 แกน ตีเกลียวรวมแกนแต่ไม่มีเปลือกนอกหุ้ม ส่วนมากใช้งานสำหรับการต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก หรือใช้กับโคมไฟต่าง ๆ

     

  15. สาย VFF-GRD เป็นสายทนแรงดัน 300 โวลต์ ชนิดเดียวกับสาย VFF โดยมีสายดินเพิ่มเข้ามาอีก 1 แกน ใช้งานในการเดินสายไฟเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆไป ไม่ควรใช้ร้อยท่อฝังดิน หรือเดินฝังดินโดยตรง 

     

  16. สาย VFF-F หรือ VKF เป็นสายทนแรงดัน 300 โวลต์ หุ้มฉนวนด้วย PVC มีเปลือกนอก มีหลายแกน ใช้ในการต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป

SHINY FACE PLATE : หน้ากากขาวมันเงา (ไม่มีป้ายชื่อ) 

(US-2311) 
1 Port  :  18 บาท

(US-2312) 
2 Port  :  18 บาท

(US-2313) 
3 Port  :  18 บาท

(US-2314) 
4 Port  :  20 บาท

(US-2316) 
6 Port  :  24 บาท

SHINY EXCLUSIVE FACE PLATE/W Shutter : หน้ากากมันเงารุ่นสวยสุดหรูมีชัตเตอร์

(US-2331)
1 Port : 55 บาท

(US-2332)
2 Port : 55 บาท

(US-2333)
3 Port : 55 บาท

(US-2334)
4 Port : 60 บาท

✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾ 

Contact-us

✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾ 

Our Clients

รับเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – บริการเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – lan – fiber – เดินสาย Cat5 – เดินสาย Cat6 – ติดตั้งกล้องวงจรปิด – เดินสาย CCTV – เดินสายกล้อง – เดินสาย RG6 – เดินสายโทรศัพท์ – เดินสาย Telephone – ติดตั้ง Accesspoint – ติดตั้ง Wireless – RACK