หลายเสียงสอบถามเข้ามาว่า “ไฟเบอร์ไทยคะ” “ไฟเบอร์ไทยครับ” เดินแลน กับ เดินไฟเบอร์มันต่างกันยังไง แล้วต้องเลือกยังไงจึงจะเหมาะสมกับการใช้งาน วันนี้ฤกษ์งามยามดี ทีมแอดมินขอมาแถลงข้อสงสัยของทุกท่านกันค่ะ

ไฟเบอร์ออฟติค (Fiber Optic)

        ไฟเบอร์ออฟติค เป็นสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงที่มีความเสถียรสูง มีการลดทอนสัญญาณต่ำมาก สามารถใช้งานได้ระดับ 10 – 100 km. สบายๆ ไม่เพียงเท่านั้น ตัวสายสัญญาณยังทำจากแก้วซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า และมีการส่งสัญญาณเป็นแสง ซึ่งสัญญาณไฟฟ้าจะไม่สามารถรบกวนสัญญาณแสงได้ ทำให้สามารถติดตั้งสาย Fiber Optic ใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ได้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode) เป็นสายที่มีขนาด Core คือ 9 ไมครอน และมีการส่งสัญญาณด้วยแสงประเภทเลเซอร์ ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกล ขั้นต่ำที่ใช้งาน คือรุ่น 10 km และไกลได้ถึง 100 km สายชนิดนี้นิยมใช้งานกับทุกระบบ และยังเป็นสายสัญญาณที่ดีที่สุดที่มีในตอนนี้ เพราะสามารถรองรับความเร็วได้แบบไม่จำกัด แต่ข้อเสียคือต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ หรือ Media Converter
  2. เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode) เป็นสายสัญญาณที่มีขนาด Core คือ 50 หรือ 62.5 ไมครอน สาย Multimode จะส่งสัญญาณด้วย LED หรือคล้ายๆกับหลอดไฟ ซึ่งสามารถส่งสัญญาณได้ในระยะทางใกล้ๆ ส่วนราคาของตัวแปลงสัญญาณจะไม่แพงมาก นิยมใช้งานในห้อง Datacenter ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ไม่ไกลมาก และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระดับ 10, 40, 100 Gbps จะมีราคาถูกกว่าแบบ Singlemode มาก

        สายไฟเบอร์ออฟติคก็ยังมีหลายหลายแบบในท้องตลาด ซึ่งแต่ละชนิดก็เหมาะสมกับความต้องการในการติดตั้งของลูกค้าที่แตกต่างกัน 

  • สายแบบ Outdoor/Indoor เป็นสายพิเศษที่ออกแบบตัวเปลือกภายนอกหรือ Jacket เป็น PE with LSZH ไม่ลามไฟ และทนทานต่อสภาพอากาศ
    ทั้งแดงทั้งฝนได้เป็นอย่างดี สามารถติดตั้งเข้ามาในอาคารได้อย่างปลอดภัย
  • สายแบบ Outdoor Armored เป็นสายที่เพิ่มชั้น Corrugated Armored Steel เป็นเหมือนเหล็กลูกฟูกป้องกันแรงกระทบกระแทกต่างๆ
    สายชนิดนี้สามารถป้องกันสัตว์กัดแทะได้ และสามารถฝังดินโดยตรงได้
  • สายแบบ Outdoor Dropwire หรือ Outdoor Fig8 เป็นสายที่เพิ่มโครงสร้างของลวดสลิงไว้กับสายสัญญาณเพื่อความสะดวกในการติดตั้งกับเสาไฟฟ้า โดยสลิงนี้จะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักสายทั้งหมดเพื่อแขวนกับเสาไฟฟ้า
  • สายแบบ FTTH หรือ Fiber To The Home เป็นการเชื่อมโยงระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสาย Fiber Optic เข้าไปยังบ้านพักอาศัย รองรับความเร็วได้แบบไม่จำกัด ด้วยสายใยแก้วนำแสงเพียงแค่ 1 เส้นหรือ 1 core เท่านั้น โดยจะใช้เป็นสาย Singlemode แบบพิเศษในเกรดของ G.657A2 ที่สามารถโค้งงอได้มากกว่าสายปกติทั่วไป แต่สัญญาณลดทอนต่ำมาก เพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้งานตามบ้านที่สายสัญญาณพวกนี้จะต้องถูกโค้งงอไปตามมุมต่างๆภายในบ้าน

สายแลน (LAN)

        สายแลน คือ ตัวกลางในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสาย
ถึงกันได้โดยตรง ระยะเสถียรไม่ควรเกิน 100 เมตร ซึ่งก็มีหลากหลายชนิดให้ลูกค้าเลือกสรรตามความเหมาะสมของการใช้งานเช่นกัน

        การเลือกซื้อสายแลนนั้นเราควรเลือกซื้อให้เข้ากับอุปกรณ์เชื่อมต่อ อาทิ Switch HUB Modem Router โดยส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์เหล่านี้จะมีอัตราความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 10/100/1000 Mbps ซึ่งสายแลนที่นิยมใช้งานมากที่สุดจะเป็นสายแบบ UTP (UNSHIELD TWISTED PAIR) คือ สายตีเกลียวที่ไม่มีตัวป้องกัน โดยสายแลนต้องมีการเข้าหัวต่อเพื่อเชื่อมเข้าอุปกรณ์ ซึ่งหัวนี้เรียกว่า RJ45

        ลักษณะของสายแลนก็มีให้เลือกสรรหลายหลายประเภท ตามความต้องการในการติดตั้งของลูกค้าเช่นเดียวกัน

  1. ตามการใช้ภายนอกและภายในอาคาร โดยที่สายภายนอกอาคารจะมีปลอกหุ้มที่แข็งกว่าและหนากว่าสายภายในเพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคาร
  2. ตามลักษณะการหุ้มฉนวน มีตั้งแต่ฉนวนอย่างเดียวไม่มีฟอยล์ มีฟอยล์นอก และมีฟอยล์หุ้มทั้งหมด
  3. ตามคุณภาพความถี่ที่รองรับได้
    • ประเภทที่หนึ่ง คือ UTP CAT5 เป็นสายแลนทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps สายชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้งานกันซักเท่าไรเนื่องด้วยความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ต่ำ
    • ประเภทที่สอง คือ UTP CAT5e คือ เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gpbs
    • ประเภทที่สาม คือ UTP CAT6 คือ เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 250MHz
    • ประเภทที่สี่ คือ UTP CAT7 คือ เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 600MHz

     4. ตามการเข้าหัวของสายแลนตามลักษณะการใช้งาน สายแลนเป็นสายนำสัญญาณที่เราควรเลือกให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อและการเข้าหัวของสายแลนก็มีส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้การเชื่อมต่อมีความเสถียรภาพและการส่งข้อมูลที่ลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกใช้งานสายแลนเราก็ควรเลือกตามลักษณะงานที่เราจะใช้งานด้วยเช่นกัน

        แอดมินก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจของทุกท่านได้ประมาณนึง อ่านจบทุกท่านก็คงจะประเมินความต้องการของตนเอง หรือองค์กรได้ ว่าควรจะใช้บริการติดตั้งเดินสายแลน หรือเดินสายไฟเบอร์ดี หากตอบคำถามสิ่งที่ต้องการได้แล้ว ก็นึกถึงทีมไฟเบอร์ไทยได้เลยน๊าาาา เราพร้อมให้บริการด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ การันตีคุณภาพแก่ทุกๆท่านเสมอ แล้วบทความต่อๆไป เราจะมาทำความรู้จักกับชนิดของแต่ละสายแบบเจาะลึกลงไปอีกกกกกกก อย่าลืมติดตามอ่านกันต่อนะจ๊ะ 

✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾

รับเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – บริการเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – lan – fiber – เดินสาย Cat5 – เดินสาย Cat6 – ติดตั้งกล้องวงจรปิด – เดินสาย CCTV – เดินสายกล้อง – เดินสาย RG6 – เดินสายโทรศัพท์ – เดินสาย Telephone – ติดตั้ง Accesspoint – ติดตั้ง Wireless – RACK